วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 17.00 น. บริษัท ไซเมส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้รับแจ้งเหตุเกี่ยวกับ ไฟฟ้าดูดภายในห้องน้ำทุกห้อง ของบ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทีมวิศวกรจึงเข้าทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าทันที และพบปัญหาสำคัญที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย
ผลการตรวจสอบ
รูปที่ 1 วัดแรงดันที่ก๊อกน้ำเทียบกับพื้นห้องน้ำ
รูปที่ 2 HIOKI Recorder
U1 = Voltage line – neutral ( V ) 200.2 V
U2 = Voltage at ground rod – any ground ( V ) 42.92 V
I1 = Line current ( load current ) ( A ) 54.74 A
I2 = Ground rod current ( A ) 20.24 A
2. แรงดันไฟฟ้า Line – Neutral: 200.20V
3. สาย Neutral หลวม และอุณหภูมิที่จุดต่อสาย Neutral สูงถึง 99.6°C ดังรูปที่ 3 และ 4
รูปที่ 3 Neutral cable ที่หลวม ด้าน Input ( Maximum current ประมาณ 150 A อายุการใช้งาน 10 ปี )
รูปที่ 4 สาย Neutral ที่หลวมทำให้เกิดความร้อน 99.6 C
4. ขนาดมิเตอร์ของการไฟฟ้า: Single-phase ขนาดประมาณ 30(100)A
5. พบการต่อสาย Neutral – PE เข้าด้วยกันที่แผงเมน ดังรูปที่ 5 และ 6
รูปที่ 5 Neutral – PE ต่อกันตาม มาตรฐานการไฟฟ้า
รูปที่ 6 สาย Neutral – PE ต่อกันตาม มาตรฐานการไฟฟ้า
⚠️ วิเคราะห์สาเหตุของไฟฟ้าดูด
จากวงจรไฟฟ้า เมื่อสาย Neutral เกิดการหลวม กระแสโหลดบางส่วนจะไหลผ่าน Ground rod ที่ปักไว้ในบ้าน ส่งผลให้เกิดแรงดันไฟฟ้ากับโครงอุปกรณ์ทุกชนิด รวมถึงก๊อกน้ำในห้องน้ำ แรงดันนี้วัดได้ 42.92V ซึ่งเกินค่าความปลอดภัยและเพียงพอจะทำให้เกิดไฟฟ้าดูดกับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะสัมผัสก๊อกน้ำจากตำแหน่งใดในบ้านก็ตาม
รูปที่ 7 ระบบการจ่ายไฟฟ้าให้บ้านดังกล่าว และเพื่อนบ้านข้างเคียง
โดยหลักการเกิดแรงดันรอบแท่ง ground – เมื่อกระแส 20 A ไหลผ่าน ground rod จะสร้างแรงดันรอบแท่ง ground rod 42 V ทำให้เมื่อคนจับฝักบัวจะถูกไฟดูดด้วยแรงดัน 42 V ไม่ว่าจะอาบน้ำห้องไหนในบ้าน ทั้งนี้เครื่องตัดไฟรั่วยังไม่ทำงานอีกด้วย
การแก้ไขโดยการไฟฟ้านครหลวง
วันที่ 7 กันยายน 2566 ได้มีการแจ้งเพื่อให้การไฟฟ้าได้เข้ามาตรวจสอบและดำเนินการขันจุดต่อสาย Neutral ที่หลวม และหลังจากนั้น ปัญหาไฟฟ้าดูดได้หายไป ดังรูปที่ 8 และ 9
รูปที่ 8 ทางการไฟฟ้าเข้ามาขันแน่นจุดที่หลวม
รูปที่ 9 สภาพทางกายภาพเมื่อยางของ neutral terminal ถูกความร้อน (ทางการไฟฟ้าเข้ามาขันแน่นจุดที่หลวม)
เหตุอุปกรณ์เสียหายเพิ่มเติม
ย้อนกลับไปช่วงประมาณ 1 กันยายน 2565
มีรายงานว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรายการในบ้านหลังนี้และบ้านข้างเคียง (ประมาณ 7 หลังคาเรือน) ได้รับความเสียหาย เช่น ชุดควบคุมประตูไฟฟ้า
สาเหตุคาดว่าเกิดจาก Arcing ที่จุดต่อหลวม ซึ่งก่อให้เกิด Transient Overvoltage และ Back EMF จากโหลดที่มีลักษณะเป็นตัวเหนี่ยวนำ (Inductive Load) ส่งผลให้แรงดันกระชากสูงระดับหลายพันโวลต์ (kV)
ข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัย
หากคุณพบอาการไฟฟ้าช็อตจากอุปกรณ์ในบ้าน รู้สึกเหมือนไฟรั่ว หรือมีความไม่แน่ใจในความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า อย่ารอให้เกิดอุบัติเหตุ
ทีมวิศวกรของ บริษัท ไซเมส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด พร้อมให้คำปรึกษาและตรวจสอบระบบไฟฟ้า 24 ชั่วโมง
📞 โทร: 081-820-8835 | 062-306-9000
📩 Email: chanvit_cru@yahoo.com | pmadmin@simes-engineering.com
🌐 เว็บไซต์:
📘 Facebook: https://www.facebook.com/simesengineeringco
📺 YouTube: @SimesChannel
กลับหน้าหลักบริษัท ไซเมส เอ็นจิเนียริ่ง
121 หมู่1 ซ.ธนะนิรันดร์ ต.บางศรีเมือง ถ. สุขาภิบาล อ.เมือง นนทบุรี 11000 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 0125558021330