การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานที่ควรรู้

ในบทความนี้ SIMES จะกล่าวถึงข้อมูลการ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ ทั้งสองมีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการให้พลังงานไฟฟ้าแก่โรงงานเพื่อให้การผลิตและการทำงานสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย

ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า

ความสำคัญของการ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ ในโรงงาน สรุปให้เป็นประเด็นสำคัญ

การให้พลังงานไฟฟ้า: การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นพื้นฐานในการให้พลังงานไฟฟ้าแก่โรงงาน เป็นที่มาของพลังงานที่จำเป็นสำหรับเครื่องจักรและการทำงานต่าง ๆ ภายในโรงงาน

ประสิทธิภาพและความถูกต้อง: การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง หรือการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงต่ำที่ได้มาตรฐานถูกต้อง และปลอดภัย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ลดการเกิดความขัดข้อง และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานภายในสถานประกอบการ

ความปลอดภัย : สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ ที่มีความปลอดภัย โดยการเลือกผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทำงาน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่มีแรงดันสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของพนักงานและสิ่งแวดล้อม

การดูแลบำรุงรักษา: เราทราบดีว่า โรงงานจะมีการดูแลการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าในโรงงานทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการวางแผนและการตรวจสอบอย่างถูกต้องจะทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและการบำรุงรักษาเพื่อรักษาประสิทธิภาพและความเสถียรของระบบไฟฟ้าในระยะยาว

การพัฒนาและขยายโรงงาน: เมื่อมีการเติบโตขยายโรงงาน ควรให้ความสำคัญกับการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า แรงสูง หรือแรงต่ำอย่างรอบคอบโดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะระบบไฟฟ้าที่ดีจะสามารถรองรับการขยายขนาดของสถานประกอบการ โรงงานของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ

ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า

มาตรฐานและข้อกำหนดการติดตั้งทางไฟฟ้า 

ในบทความนี้จะกล่าวถึงส่วนหนึ่งของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ฯ ซึ่งใช้เป็นข้อกำหนดในการออกแบบ ติดตั้ง และใช้งานระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ (บริภัณฑ์) ไฟฟ้า ให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้งาน สถานประกอบการที่ติดตั้งระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น โดยแบ่งออกเป็น
ข้อกำหนดทั่วไปในการติดตั้งทางไฟฟ้า มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์

2.1 ข้อกำหนดทั่วไปในการติดตั้งทางไฟฟ้า 

2.1.1 การเดินสายไฟฟ้าสำหรับระบบที่มีแรงดันต่างกัน 

สายไฟฟ้าแรงต่ำ (แรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์) ทั้งระบบกระแสสลับและกระแสตรง สามารถติดตั้งรวมกันในท่อร้อยสาย รางเดินสาย หรือ เครื่องห่อหุ้มเดียวกันได้ แต่มีเงื่อนไขที่สำคัญคือฉนวนของสายทั้งหมดที่ติดตั้งต้องเหมาะสมกับระบบแรงดันสูงสุดที่ใช้เช่น ในรางเดินสายที่มีวงจรไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย แรงดัน 230/400 โวลต์ เดินรวมกับวงจร 1 เฟส 230 โวลต์ และมีวงจรควบคุมใช้แรงดัน 24 โวลต์ กระแสตรงอยู่ด้วย 

ทั้งหมดนี้สามารถเดินรวมในรางเดินสายได้ตามที่อนุญาตไว้ในมาตรฐานฯ แต่สายไฟฟ้าทุกเส้นต้องเป็นสายชนิดทนแรงดันไม่ต่ำกว่า 400 โวลต์ เช่น สาย NYY เป็นต้น  

สายไฟระบบแรงต่ำห้ามเดินรวมกับระบบแรงสูงในท่อร้อยสาย บ่อพักสาย หรือเครื่องห่อหุ้มเดียวกัน แต่ถ้าเป็นการเดินสายในแผงสวิตช์หรือเครื่องห่อหุ้มอื่นที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินสาย สามารถทำได้ 

2.1.2 การป้องกันความเสียหายทางกายภาพ 

การเดินสายไฟฟ้าต้องหลีกเลี่ยงจากความเสียหายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น โครงสร้างคอนกรีต ก็ควรทำการเจาะรูเตรียมไว้ตั้งแต่ทำการก่อสร้างการเดินสายผ่านโครงสร้างที่มีการเจาะรูหรือทำเป็นร่องให้สายไฟฟ้าผ่าน จะต้องป้องกันการบาดสายด้วยบุชชิ่งยางหรือโดยการแต่งรูหรือช่องให้เรียบร้อย ไม่มีส่วนแหลมคมที่จะบาดสายไฟฟ้าได้ 

2.1.3 ระยะห่างทางไฟฟ้าในการติดตั้งสายไฟฟ้า 

ระยะห่างทางไฟฟ้านี้ ครอบคลุมถึงระยะห่างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสายจ่ายพลังงานไฟฟ้าเหนือพื้นดิน 
(overhead supply) สาหรับการติดตั้งเพื่อใช้งานทั้งแบบถาวรและชั่วคราวสำหรับกรณีพาดสายผ่านอาคารหรือสิ่งก่อสร้างใด ๆ โดยที่สายไฟฟ้าไม่ได้ยึดติดกับอาคารหรือสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ 

การวัดระยะห่างทางไฟฟ้าให้วัดระยะในแนวตรงจากผิว (surface) ของส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้า (สายไฟ, ตัวนำไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า) ไปยังผิวของส่วนที่ไม่มีแรงดันไฟฟ้าหรือไปยังสิ่งต่างๅ ที่อยู่ใกล้ที่สุด โดยระยะห่างในแนวนอน ให้ใช้ค่าตามตารางที่ 2.1 และระยะห่างในแนวดิ่ง ให้ใช้ค่าตามตารางที่ 2.2  

ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ
ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ

หมายเหตุ สำหรับตารางที่ 2.1 และ 2.2 

  1. ระยะห่างตามตารางเป็นระยะห่างสำหรับอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีการเข้าไปบำรุงรักษา หรือทำงาน หากมีความจำเป็นต้องเข้าไปบำรุงรักษา หรือทำงานในระยะห่างดังกล่าว ผู้ที่เข้าไปดำเนินงานจะต้องมีการป้องกันที่เหมาะสม 
  2. แรงดันไฟฟ้าในที่นี้ หมายถึง แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟ (เฟส-เฟส)
  3. ชื่อของสายไฟฟ้า ชนิดต่าง ๆ ในตารางเทียบกับสายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ดังนี้ 
    • สายหุ้มฉนวนแรงต่ำตีเกลียวกับสายนิวทรัลเปลือย = service drop conductor 
    • สายหุ้มฉนวนแรงต่ำ = weather proof conductor 
    • สายหุ้มฉนวนแรงสูงไม่เต็มพิกัด = partially insulated conductor
    • สายหุ้มฉนวนแรงสูง 2 ช้ันไม่เต็มพิกัด = space aerial cable 
    • สายหุ้มฉนวนแรงสูงเต็มพิกัดตีเกลียว = fully insulated cable 
  4. ผนังด้านปิดของอาคาร คือ ผนังอาคารที่บุคคลไม่สามารถยื่นส่วนของร่างกายหรือวัตถุ มาสัมผัสสายไฟฟ้าได้ โดยพลั้งเผลอ 
  5. ผนังด้านเปิดของอาคาร คือ ผนังอาคารที่บุคคลสามารถยื่นส่วนของ ร่างกายหรือวัตถุ มาสัมผัสสายไฟฟ้าได้ โดยพลั้งเผลอ 
  6. สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ หมายถึง ปล่องควัน ถังซึ่งบรรจุสารที่ไม่ติดไฟ เสาอากาศโทรทัศน์-วิทยุ ที่ติดตั้งอิสระ และรวมถึงเสาอากาศโทรทัศน์-วิทยุ ที่ติดตั้งกับตัวอาคาร ซึ่งต้องไม่ล้ำส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร ในแนวนอนเดียวกับสายไฟฟ้าน้ัน 
  7. ระยะห่างนี้ กำหนดที่สภาพ Max. Final Sag ที่อุณหภูมิใช้งานสูงสุดของสายไฟฟ้า 
  8. ทางสัญจร หมายถึง ทางหลวง ถนน ตรอก ซอย ที่เป็นที่สาธารณะหรือทางส่วนบุคคลก็ตามหรือบริเวณที่ยานพาหนะใช้ผ่านอยู่แล้ว 
  9. หากเป็นทางสัญจรและพื้นที่ซึ่งไม่ได้จัดไว้สาหรับรถยนต์ หรือยานพาหนะอื่นใดผ่าน ระยะห่างต่ำสุด สามารถลดลงได้เหลือ 2.6 เมตร 

การเดินสายใต้ดิน 

การเดินสายใต้ดิน สามารถทำได้ทั้งร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง การติดตั้งต้องเลือกชนิดของสายให้เหมาะสมด้วย การเดินสายจะต้องระวังเรื่องความเสียหายภายหลังการติดตั้งด้วย เช่น จากการกลบสายด้วยวัตถุแหลมคม หรือจากการกดทับ บริเวณที่รถยนต์วิ่งผ่านจะต้องฝังลกึตามมาตรฐาน เพื่อป้องกันน้ำหนักรถกดทับทำให้สายไฟฟ้าหรือท่อร้อยสายชำรุดได้ และมีข้อกำหนดเพิ่มเติมอีก ดังนี้ 

1. การเดินสายใต้ดินจะต้องมีความลึกไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในตารางที่ 2.3 แต่ถ้าเป็นบริเวณที่มีรถยนต์วิ่งผ่าน ความลึกต้องไม่น้อยกว่า 0.60 ม. ทุกกรณี 

2. สายเคเบิลใต้ดินติดตั้งใต้อาคาร ต้องติดตั้งอยู่ในท่อร้อยสายและท่อร้อยสายต้องยาวเลยผนังด้านนอกของอาคารออกไป 

3. สายเคเบิลที่ฝังดินโดยตรง ส่วนที่โผลขึ้นจากดินต้องมีการป้องกันด้วยเครื่องห่อหุ้ม หรือท่อร้อยสายสูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 2.40 ม. 

4. การต่อสายใต้ดิน ต้องใช้อุปกรณ์การต่อสายที่ออกแบบไว้สำหรับการต่อสายใต้ดินโดยเฉพาะ ดังตัวอย่างในรูปที่ 2.1 การเดินสายในช่องเดินสายต้องต่อสายในกล่องต่อสายเท่าน้ัน (man hole หรือ hand hole) 

5. ท่อร้อยสายฝังดินที่เดินไปเข้าบริภัณฑ์ไฟฟ้าเช่นแผงสวิตช์ อาจมีความชื้นเข้าไปตามท่อ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริภัณฑ์ไฟฟ้าได้ การป้องกันความชื้นทำได้ด้วยการอุดปลายท่อด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ด้านตามความเหมาะสม ปกติความชื้นสามารถเข้าในท่อร้อยสายไฟฟ้าได้โดยปนอยู่ในอากาศ ความชื้นนี้อาจเข้าไปในแผงสวิตช์ และเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะตามส่วนต่าง ๆ ของแผงสวิตช์ เป็นสาเหตุของการกัดกร่อน และฉนวนไฟฟ้า จะมีฝุ่นละอองมาเกาะทำให้เสื่อมสภาพการเป็นฉนวน เป็นผลให้แผงสวิตช์เสียหายได้

2.2 มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า 

2.2.1 มาตรฐานสายไฟฟ้าแรงต่ำ 

สายไฟฟ้าแรงต่ำที่เป็นสายทองแดง แบ่งชนิดของฉนวนเป็นฉนวนพีวีซี (PVC) และเอ็กซ์แอลพีอี (XLPE) สาย PVC มีทั้งชนิดอุณหภูมิใช้งาน 70 oC และ 90 oC แต่ที่ใช้งานในระบบการเดินสายทั่วไปจะเป็นชนิดอุณหภูมิ 70 oC สำหรับสาย XLPE มีอุณหภูมิใช้งาน 90 oC เมื่อมีกระแสไหลในสายไฟฟ้าจะเกิดความร้อน เมื่อกระแสไหลสูงขึ้นความร้อนก็จะสูงตามซึ่งต้องไม่สูงเกินอุณหภูมิใช้งานของสายไฟฟ้า สายไฟฟ้าจึงสามารถนำกระแสได้สูงจนถึงค่าที่อุณหภูมิของฉนวนจะทนได้ (อุณหภูมิใช้งานของสายไฟฟ้า) สายไฟฟ้าขนาดเดียวกันถ้าฉนวนทนอุณหภูมิอุณหภูมิได้สูงกว่าก็จะนำกระแสได้สูงกว่า  

สาย PVC เป็นสายไฟฟ้าที่กำหนดให้ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ มอก. 11-2553 กำหนดแรงดันใช้งานไม่เกิน 450/750 โวลต์ (แรงดัน 450/750 โวลต์ หมายถึง 450 โวลต์ เป็นแรงดันระหว่างสายเส้นไฟกับดิน (phase voltage) และ 750 โวลต์ เป็นแรงดันระหว่างสายเส้นไฟ (line voltage)) อุณหภูมิใช้งาน 70 oC และ 90 oC สายไฟฟ้ามีหลายชนิดด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน การเรียกชนิดของสายจะเรียกเป็นรหัสชนิดเช่น รหัสชนิด VAF 

สาย XLPE เป็นสายไฟฟ้าที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC 60502 อุณหภูมิใช้งาน 90 oC แรงดันใช้งาน ไม่เกิน 0.6/1 kV. เนื่องจากอุณหภูมิใช้งานสูงในการใช้งานจึงต้องระวังเรื่องอุณหภูมิของสายด้วย เพราะอาจมีผลกระทบกับอุปกรณ์ที่สายต่ออยู่ การเลือกใช้งานจึงต้องทำโดยผู้ที่มีความรู้ที่ทราบถึงผลเสียและมีวิธีการป้องกันที่เหมาะสม ฉนวน XLPE มีความแข็งทนต่อการขูดขีดได้ดีแต่ก็เป็นผลให้ปอกสายยาก 

ขนาดของสายไฟฟ้าเรียกตามขนาดพื้นที่หน้าตัดภาคขวางของส่วนที่เป็นตัวนำ (ทองแดง) หน่วยเป็น ตร.มม. เช่น 1, 2.5, 4, 6, 10, 16 และ 25 ตร.มม. เป็นต้น 

แผงสวิตช์ (switch board): หมายถึง แผงขนาดใหญ่หนึ่งแผง หรือหลายแผงประกอบเข้า ด้วยกัน เพื่อใช้ติดตั้งเครื่องปลดวงจร เครื่องป้องกันกระแสเกิน อุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ บัสบาร์ และเครื่องวัด ต่าง ๆ เพื่อรับไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าไปจ่ายให้กับโหลด แผงสวิตช์ หรือแผงย่อย โดยสามารถเข้าถึงได้ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังของแผงสวิตช์

บัสบาร์: เป็นตัวนําไฟฟ้าทีนำมาใช้งานภายในแผงสวิตช์หรือบัสเวย์ส่วนมากบัสบาร์ที่ใช้ทํา จากทองแดง โดยต้องเป็นทองแดงที่มีความบริสุทธิ์ของทองแดงไม่น้อยกว่า 98 % ตามมาตรฐาน มอก.308- 2555, มอก.408-2553, BS EN 13601, การติดตั้งบัสบาร์ต้องมีการจับยึดที่มั่นคง แข็งแรง ด้วยวัสดุฉนวน หรือด้วยบสั บาร์ซัพพอร์ต โดยระยะห่างระหว่างจุดจับยึดจะต้องพอเพียงต่อการป้องกันการเคลื่อนตัวอย่าง รุนแรงของบัสบาร์ในกรณีที่เกิดการลัดวงจร ระยะห่างระหว่างบัสบาร์ในเฟสเดียวกันและ เฟสต่างกันควรจะ เท่ากันตลอดความยาวของบัสบาร์ โดยบัสบาร์ซัพพอร์ตจะต้องสามารถทนต่อแรงที่เกิดขึ้นเนื่องจากการ ลัดวงจรได้โดยไม่เกิดความเสียหาย

บัสเวย์: เป็นบริภัณฑ์ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ทําหน้าที่ส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังปลายทางที่ต้องการเช่นเดียวกับกับสายไฟฟ้าแต่ในการใช้งานที่มีระยะทางไกลหรือต้องส่งจ่ายกระแสปริมาณมากบัสเวย์จะมีความคุ้มค่ามากกว่ามีความแข็งแรงมากกว่าและมีแรงดันตกน้อยกว่าการใช้สายไฟฟ้า

แผงย่อย: หมายถึง แผงเดี่ยวหรือกลุ่มของแผงเดี่ยวที่ออกแบบให้ประกอบรวมกันเป็นแผง เดียว ประกอบด้วยบัสบาร์ เครื่องป้องกันกระแสเกินอัตโนมัติ เป็นแผงที่ออกแบบให้ติดตั้งไว้ในตู้ หรือกล่องคัต เอาต์ที่ติดตั้งบนผนังซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทางด้านหน้าเท่านั้น แผงย่อยตาม IEC 60493-3:2017 กําหนดให้มี แรงดันเทียบกับดินท่ีระบุไม่เกิน 300 V มีทั้งแบบที่ใช้สําหรับระบบ 3 เฟส 4 สาย และระบบ 1 เฟส 2 สาย พิกัดกระแสของเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ไม่เกิน 250 A และวงจรย่อยไม่เกิน 125 A

คอนซูเมอร์ยูนิต: หมายถึง แผงย่อยสําหรับท่ีอยู่อาศัยตามมาตรฐาน IEC 60493-3:2017 เป็น แผงย่อยที่ใช้สําหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย มีพิกัดกระแสของเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ไม่เกิน 100 A

เซฟตี้สวิตช์ (safety switch): เป็นอุปกรณ์สําเรจ็รปูประกอบด้วยเครื่องปลดวงจรและเครื่องปอ้งกันกระแสเกนิ (ฟิวส์) มีข้อดีคือการสับ หรือ ปลด วงจรจะทําพร้อมกันทุกเส้น เซฟตี้สวิตช์ ตามที่กําหนดในมาตรฐานการ ติดตั้งทางไฟฟ้าฯต้องเป็นชนิดที่จะเปิดฝากล่องได้เมื่อสวิตช์อยู่ในตําแหน่งปลดเท่าน้ัน

เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นบริภัณฑ์ป้องกันกระแสเกิน (over current) หรือการลัดวงจร (short circuit) และเป็นเครื่องปลดวงจรสําหรับเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าในสภาวะปกติ

ฟิวส์: เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินเช่นเดียวกับเซอรกิตเบรกเกอร์มีข้อแตกต่างจากเซอรก์ติ เบรกเกอร์ตรงท่ีเมื่อกระแสเกินและฟิวส์ขาดจะต้องเปลี่ยนตัวใหม่ ไม่สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้อีก ข้อดีคือมี พิกัดตัดกระแสลัดวงจรสูง มีความเชื่อถือได้สูง และราคาต่ำกว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์ มีหลายชนิดหลายขนาดตามมาตรฐานการผลิตและการใช้งาน มีพิกัดกระแสใช้งาน และพิกัดตัดกระแสลัดวงจร เช่นเดียวกับเซอร์กิต เบรกเกอร์

สวิตช์ไฟฟ้า: สวิตช์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทําหน้าที่ปดิหรือเปิดวงจรไฟฟ้าสวิตช์ไฟฟ้าตามมอก.824-2551 เป็นสวิตช์ไฟฟ้าทํางานด้วยมือ (manually operated) ใช้ได้เฉพาะไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันไม่เกิน 440 V พิกัดกระแสไม่เกิน 63 A และมีอุณหภูมิใช้งานไม่เกิน 40 oC ใช้สําหรับควบคุม

เต้ารับไฟฟ้า: คือจุดต่อไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่กับท่ีเตรียมพร้อมให้ต่อไฟฟ้าออกไปใช้งาน เต้ารับที่ใช้ ในวงจรย่อยนั้นต้องเป็นแบบมีขั้วสายดิน (2P + E) ตาม มอก.166-2549 และต้องมีการต่อลงดิน ใช้สําหรับ ไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันมากกว่า 50 V แต่ไม่เกิน 250 V มีพิกัดกระแสไม่เกิน 16 A อุณหภูมิใช้งานไม่เกิน 40 oC เต้ารับแบบยึดกับที่ต้องมีระดับช้ันการป้องกัน (IP) เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน


การติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตราย

บริเวณอันตราย คือ บริเวณที่มีสารติดไฟได้ที่ปรากฏอยู่หรืออาจปรากฏขึ้น ในขณะผลิต ขณะซ่อม บํารุงขณะเก็บรักษาเคลื่อนย้ายขนถ่ายซึ่งพร้อมที่จะลุกติดไฟได้ตลอดเวลาเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ได้ เนื่องจากการติดตั้ง การใช้งาน หรือการทํางานผิดพลาดของอุปกรณ์

การติดตั้งบริภัณฑ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าบริเวณปกติที่ไม่ได้กําหนดให้เป็นบริเวณอันตราย ในการออกแบบโรงงานจึงต้องวางแนวคิดในลักษณะการจํากัดพื้นที่ที่เป็นบริเวณอันตรายให้อยู่ใน วงจํากัดและมีพื้นที่เล็กสุดเท่าที่ทําได้ และในการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งบริภัณฑ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตราย โดยให้มีเท่าที่จําเป็นเท่านั้น หรือพยายามลดสภาพความอันตรายลง เช่น การระบายอากาศ เป็นต้น

เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งจะต้องทําการตรวจสอบและบํารุงรักษาบริภัณฑ์ไฟฟ้า บริภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการ เดินสายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์มีสมรรถนะพร้อมใช้เพื่อความปลอดภัย การตรวจสอบเป็นการตรวจการคง สภาพความปลอดภัยของบริภัณฑ์ และทําการบํารุงรักษาตามความจําเป็น

การจําแนกบริเวณอันตราย

บริเวณอันตราย ถูกกําหนดขึ้นเนื่องจาก มีหรืออาจมีสารที่ติดไฟได้ที่มีโอกาสก่อให้เกิดสภาพ บรรยากาศที่อาจติดไฟหรืออาจระเบิดได้ เช่น ก๊าซติดไฟได้ ไอระเหยที่ติดไฟได้ที่เกิดจากของเหลวที่ติดไฟได้ ของเหลวที่ติดไฟได้ ฝุ่นที่ติดไฟได้ ละอองหรือเส้นใยที่ติดไฟได้


การจําแนกบริเวณอันตราย จําแนกโดยหลักของคุณสมบัติของก๊าซติดไฟได้ ไอระเหยจากของเหลวติดไฟได้ ไอระเหยจากของเหลวไหม้ไฟได้ ฝุ่นลุกไหม้ได้หรือเส้นใย/ละอองที่จุดติดไฟได้ที่อาจปรากฏขึ้นในลักษณะมีสภาพลุกไหม้ไฟได้ หรือมีความเข้มข้นที่จะลุกไหม้ไฟได้หรือปริมาณ โดยต้องแยกพิจารณาแต่ละห้อง แต่ละส่วน หรือแต่ละพื้นที่ เพื่อจําแนกบริเวณอันตรายของแต่ละบริเวณการจําแนกบริเวณอันตราย การออกแบบและงานวิศวกรรม การเลือกบริภัณฑ์ วิธีเดินสาย การติดตั้ง การตรวจสอบ จะต้องดําเนินการโดยวิศวกรผู้ถือใบอนุญาต

อ้างอิงข้อมูล : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

หากโรงงานของท่านผู้ประกอบการ ต้องการรับคำปรึกษาจากวิศกรผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง อุปกรณ์ไฟฟ้าแรงต่ำ พร้อมทีมติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในโรงงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มาตรฐานสากล

ปรึกษาเราฟรี

คลิกดู https://www.simes-engineering.com/cpt_service/install-high-voltage-and-low-voltage-substation/

เรา Simes Engineering มีทีมวิศวกรเชี่ยวชาญมากกว่า 35 ปี ติดต่อเราได้ที่เบอร์

https://www.facebook.com/simesengineeringco

#ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงาน #Preventivemaintenance #maintenance #งานตรวจสอบระบบไฟฟ้า #บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า #Substation #PD #partialdischarge

กลับหน้าหลัก

ติดต่อเรา

บริษัท ไซเมส เอ็นจิเนียริ่ง
121 หมู่1 .ธนะนิรันดร์ .บางศรีเมือง . สุขาภิบาล .เมือง นนทบุรี 11000 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 0125558021330